วันอังคาร, 19 มีนาคม 2567

ประวัติอำเภอเชียงม่วน

คำขวัญอำเภอเชียงม่วน

“ ไดโนเสาร์แก่งหลวง บวงสรวงพระธาตุภูปอ บ่อแร่ถ่านหิน ภูเขาดินฝั่งต้า ท่าฟ้าโบราณสถาน ธารสวรรค์บ่อเบี้ย ” 

แผนที่แสดงที่ตั้ง กศน.อำเภอเชียงม่วน

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น 


ประวัติอำเภอเชียงม่วน

          อำเภอเชียงม่วนเดิมมีฐานะเป็นตำบล  ชื่อ  ตำบลเชียงม่วน  อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านม่วง 
(ปัจจุบันเป็นอำเภอปง  จังหวัดพะเยา) จังหวัดน่าน  เมื่อ พ.ศ. 2496  ทางราชการได้โอนเขตการปกครองของอำเภอปง  
จังหวัดน่าน ไปขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย “อำเภอเชียงม่วน” ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นตำบลเชียงม่วน
จึงอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปง  จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่  18  มิถุนายน  พ.ศ. 2512 ได้มีการประกาศ
กระทรวงมหาดไทยแบ่งท้องที่อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเชียงม่วน อยู่ในเขตการปกครองอำเภอปง 
จังหวัดเชียงราย  ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2517 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ “กิ่งอำเภอเชียงม่วน  
ขึ้นเป็นอำเภอเชียงม่วน”  อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย  ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา 
เมื่อวันที่  28 สิงหาคม  พ.ศ. 2520  แยกอำเภอพะเยา  อำเภอจุน อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน  
ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงราย ตั้งจังหวัดพะเยา ดังนั้น อำเภอเชียงม่วนจึงอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพะเยาจนถึงปัจจุบัน


สภาพทางภูมิศาสตร์
 
         อำเภอเชียงม่วน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพะเยา ที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านป่าซางคำ  
หมู่ที่ 10 ตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพะเยา ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 
(พะเยา-น่าน) ระยะทาง 125.3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที

อาณาเขตติดต่อ

       ทิศเหนือ         ติดต่อกับอำเภอปง  จังหวัดพะเยา  
       ทิศใต้              ติดต่อกับอำเภอสอง  จังหวัดแพร่ 
      ทิศตะวันออก    ติดต่อกับอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน 
      ทิศตะวันตก      ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้  จังหวัดพะเยา   

ลักษณะภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศของอำเภอเชียงม่วน  เป็นที่ราบสูงระหว่างภูเขา  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและป่าไม้
มีที่ราบสองฝั่งแม่น้ำยมและน้ำปี้  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล(MSL) 300 เมตร อำเภอเชียงม่วน มีเนื้อที่
ทั้งหมดประมาณ   722.859 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 451,786 ไร่

สภาพภูมิอากาศ

             อำเภอเชียงม่วนมีสภาพดินฟ้าอากาศคล้ายอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดพะเยา แบ่งออก 3 ฤดู
             ฤดูร้อน               ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม
             ฤดูฝน                 ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน  ถึง เดือนตุลาคม
             ฤดูหนาว             ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์

ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ

แร่ธาตุในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน ได้เคยมีการสำรวจพบแร่เหล็กที่พื้นที่บ้านหนองกลาง  หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านมาง  
และแร่ทองแดง ที่พื้นที่ บ้านปิน  หมู่ที่ 3  ตำบลเชียงม่วนแต่มีปริมาณไม่เพียงพอในเชิงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ. 2532 
กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบแหล่งถ่านหินบ้านสระ  ในบริเวณแอ่งเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา 
ซึ่งมีปริมาณสำรองถ่านหินและลิกไนท์  ทางธรณีวิทยาสำรองยืนยัน(Measured) จำนวน 62.00 ล้านตัน ปริมาณสำรองบ่งชี้ 
(Indicate) จำนวน 1.59 ล้านตัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 63.59 ล้านตัน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์  
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  รับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งถ่านหินบ้านสระ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่  5 มิถุนายน  2533
ได้มอบอำนาจให้บริษัทเหมืองแร่เชียงม่วนจำกัด ขอประทานบัตรในกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานซึ่งทางแผนกำหนดจะเริ่มผลิตลิกไนท์
บริเวณบ้านสระหมู่ที่ 4  ตำบลสระ ได้ประมาณกลางปี  พ.ศ. 2537 โดยคาดว่าจะมีอัตราการผลิตสูงสุด ประมาณ  ปีละ 5 แสนตัน 
และในปัจจุบันนี้ทางบริษัทได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

การคมนาคม

           การคมนาคมระหว่างจังหวัด ใช้เส้นทางหลวงแผนดินหมายเลข  1019  (พะเยา- น่าน) ซึ่งเป็นถนนลาดยางเป็นหลัก 
ส่วนทางแยกเข้าสู้ตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นถนนลาดยาง ถนนหินคลุกและถนนลูกรังบดอัดแน่น สามารถใช้สัญจรไปมา
ได้สะดวกทุกฤดู ทุกตำบลและหมู่บ้าน
           1.เริ่มจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 (ถนนพหลโยธิน)  ถึงบ้านแม่ต๋ำ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1019 (พะเยา – น่าน ) ผ่านอำเภอดอกคำใต้     อำเภอจุน อำเภอปง 
ไปสิ้นสุดเส้นทาง ที่อำเภอเชียงม่วน ระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร เป็นถนน     ลาดยางโดยตลอด
สามารถใช้ สัญจรไปมาได้สะดวก ทุกฤดู ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ    1  ชั่วโมง  45  นาที

          2.  เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1  (ถนนพหลโยธิน) 
ถึงบ้านต๋ำแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1019 (พะเยา – น่าน)  ถึงอำเภอดอกคำใต้ แยกซ้ายทางหลวง 
หมายเลข 1251 ผ่านบ้านทุ่งหลวง บ้านถ้ำ บ้านงิ้ว บ้านแม่พริก บ้านปางงุ้น แยกซ้ายผ่าน บ้านสระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดิน
หมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน) ผ่านบ้านทุ่งหนอง บ้านบ่อตอง  บ้านทุ่งมอก บ้านทุ่งเจริญ บ้านมางแยกซ้ายผ่านบ้านหนองอ้อ 
ไปสิ้นสุดเส้นทางี่อำเภอเชียงม่วน 
ระยะทางประมาณ   73  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์  ประมาณ 1 ชั่วโมง 20  นาที

         3. เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1202 (พะเยา – ป่าแดด) 
ถึงบ้านหนองลาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1298 (บ้านห้วยลาน –  บ้านหนองลาว) เลี้ยวซ้าย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน)  ผ่านอำเภอจุน อำเภอปง  ไปสิ้นสุดทางที่  อำเภอเชียงม่วน
ระยะทางประมาณ  117  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล 
ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  1  ชั่วโมง  30  นาที

การคมนาคมระหว่างอำเภอเชียงม่วนกับจังหวัดน่าน

        โดยเน้นเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1120 (แพร่ – พะเยา ) เริ่มต้นจากอำเภอเชียงม่วน  ผ่านอำเภอบ้านหลวง
ถึงจังหวัดน่าน  ระยะประมาณ  75  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด  สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล
ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  1  ชั่วโมง 20 นาที

การคมนาคมระหว่างอำเภอเชียงม่วนกับจังหวัดแพร่

        โดยเน้นเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1120 (แพร่ – พะเยา) เริ่มต้นจากอำเภอเชียงม่วน  ผ่านอำเภอสอง  
อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่  ระยะทางประมาณ  112  กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางโดยตลอด  สามารถใช้สัญจร
ไปมาสะดวกทุกฤดูกาล ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  1  ชั่วโมง  30  นาที

ประชากร

                ประกอบด้วยประชากร 3 กลุ่ม คือ
          
     1. กลุ่มคนเมือง  มีขนบธรรมเนียมแบบล้านนา มีทุกหมู่บ้านในอำเภอเชียงม่วน
     2. กลุ่มคนไทลื้อ  มีขนบธรรมเนียมแบบสิบสองปันนา  อาศัยอยู่บ้านท่าฟ้าเหนือ  บ้านท่าใต้  บ้านฟ้าสีทองบ้านฟ้าใหม่ 
บ้านหล่าย   บ้านทุ่งมอก  บ้านทุ่งเจริญ บ้านป่าแขม  บ้านแพทย์ และบ้านมาง  บางส่วน
     3. กลุ่มชาวเขาเผ่าเย้า นับถือผี  เชื่อเรื่องโชคชะตา  อาศัยอยู่บ้านบ่อต้นสัก  บ้านนาบัว บ้านห้วยก้างปลา   
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก

ข้อมูล  จำนวนประชากร  อำเภอเชียงม่วน  จังหวัดพะเยา

ที่ตำบลจำนวนหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนชายหญิงรวมหมายเหตุ
1.เชียงม่วน10 2,5525,1355,04510,180
2.บ้านมาง111,0351,9271,9453,872
3.สระ133,2073,2073,0976,304
รวม346,79410,26910,08720,356

ด้านการสาธารณูปโภค การสื่อสาร และโทรคมนาคม

     1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   1   แห่ง  
     2. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข   1  แห่ง

สภาพทางเศรษฐกิจ   
          รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 39,584  บาทต่อคนต่อปี  (พ.ศ. 2551)   อาชีพหลักคือการเกษตรกรรม 
พืชที่ปลูก คือข้าวนาดำ  ข้าวโพด  ข้าวฟาง ถั่วลิสง ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง พืชผักและผลไม้ต่างๆ   ใช้แรงงาน
ในครอบครัวเป็นหลัก  ฤดูการเกษตรมีระยะเวลา 7-9 เดือน   การผลิตส่วนใหญ่เพื่อบริโภค   ที่เหลือก็นำจำหน่าย 
ผลผลิตส่วนใหญ่เกษตรกร จะขายให้แก่พ่อค้าที่เข้ามารับชื้อภายในท้องที่  หรือนำไปขายในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา 
จังหวัดพะเยา  จังหวัดน่าน และจังหวัดแพร่

ด้านทางสาธารณสุข 
        1.การให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการดังนี้ 
             สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                            จำนวน  1  แห่ง 
             โรงพยาบาล  ขนาด  30  เตียง                        จำนวน  1  แห่ง 
             สถานีอนามัย (ทั่วไป)                                   จำนวน 5  แห่ง 
             ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                  จำนวน 2  แห่ง 
             สถานบริการสาธารณสุข                                 จำนวน 2 แห่ง

        2. จำนวนบุคลากรทางด้านสาธารณสุข 
            แพทย์                                     จำนวน  3   คน 
            ทันตแพทย์                               จำนวน  1 คน 
            ทันตสาธารณสุข                         จำนวน  3 คน
            เภสัชกร                                  จำนวน  2 คน 
            พยาบาลวิชาชีพ                         จำนวน  39 คน 
           พยาบาลเทคนิค                    จำนวน  2 คน 
           นักวิชาการสาธารณสุข      จำนวน  6 คน
           เจ้าหน้าที่สาธารณสุข         จำนวน  5  คน 
     3.  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ  100 
     4.  หอกระจายข่าว  จำนวน  34 แห่ง

ที่มา : – สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงม่วน (ตุลาคม 2551)

สภาพทางการเกษตรกรรม 
        
         อำเภอเชียงม่วนมีพื้นที่เกษตรทั้งสิ้น  71,299  ไร่  ครอบครัวเกษตร  จำนวน 4,689  ครัวเรือน  
สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ๆ  แยกได้ดังนี้


ที่
พืชเศรษฐกิจพื้นที่ปลูก (ไร่)หมายเหตุ
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
ข้าวเหนียวนาปี   
ข้าวเจ้า
ลำไย
มะม่วง 
มะขามหวาน 
ส้มเขียวหวาน 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  (ต้นฝน)
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ปลายฝน + แล้ง)
ข้าวฟ่างไม้กวาด 
งาดำ 
ฝ้าย 
ละหุ่ง 
ถั่วลิสง 
ยาสูบพื้นเมือง 
ยาสูบเวอร์จิเนียร 
ถั่วเขียว 
ผักกาดเขียวปลี 
กะหล่ำดอก 
มะเขือเทศ 
ขิง
ยางพารา
14,464
290
6,139
4,368
2,993
80
25,100
21,080
2,300
150
120
280
140
310
985
580
210
530
800
535
1,741
 
    

                                             ที่มา : – สำนักงานเกษตรอำเภอเชียงม่วน

ด้านการอุตสาหกรรม   ส่วนมากเป็นการอุตสาหกรรมขนาดเล็กและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ 
–  โรงสีข้าวขนาดกลาง   1 โรง      
– โรงสีข้าวขนาดเล็ก   26 โรง 
–  โรงบ่มใบยา   2 แห่ง                    
– อู่ซ่อมเครื่องยนต์เล็ก 18 แห่ง

ด้านการธนาคารและสหกรณ์ 
–  ธนาคารพาณิชย์ (ธนาคารกรุงเทพฯ)                            1   แห่ง 
–  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.)                    1   แห่ง 

ด้านการศึกษา   
        การศึกษาในระบบโรงเรียนมีโรงเรียนประถมศึกษาเกือบทุกหมู่บ้าน นอกนั้น เป็นการศึกษานอกระบบ
มีศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำทุกตำบลของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  
เด็กที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษายังไม่ได้ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาครบทุกคน   เนื่องจากฐานะผู้ปกครองยากจน 
ในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน มีการจัดการศึกษา ดังนี้ 
      สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 อำเภอจุน จังหวัดพะเยา
           1. โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน  1 โรงเรียน 
           2. โรงเรียนระดับประถมศึกษา   จำนวน  14 โรงเรียน
      สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 
           1. ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน 1 แห่ง ประด้วย
              –  ห้องสมุดประชาชน       จำนวน  1 แห่ง
              –  ศูนย์การเรียนชุมชน       จำนวน  3 แห่ง นักศึกษา จำนวน 410 คน

ด้านวัฒนธรรม
        ในพื้นที่ อำเภอเชียงม่วน มีประเพณี วัฒนธรรม ต่างๆ ดังนี้ 
        –   วัด                     จำนวน    14 แห่ง
        –   ที่พักสงฆ์             จำนวน      3 แห่ง
     ก.  งานประเพณี

  • ขนบธรรมเนียมประเพณี ในท้องถิ่น  มีลักษณะและสภาพเดียวกันท้องถิ่นอื่น ๆ ในจังหวัดของภาคเหนือ เช่น ประเพณีรดน้ำดำหัวในเทศกาลวันสงกรานต์ 
  • ประเพณีทำบุญสลากภัต ประเพณีทอดกฐิน ทอดผ้าป่า การแห่เทียนพรรษา ประเพณีลอยกระทง
  • ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารการพูดทั่วไป คือ ภาษาประจำภาคเหนือ หรือเรียกว่า  “คำเมือง” นอกจากนี้ยังมีภาษาไทลื้อ   ภาษากลาง
  • วัฒนธรรมและความเชื่อของประชาชนในด้านไสยศาสตร์ยังมีอยู่ อาทิ  การเลี้ยงผีบ้าน การเลี้ยงผีท้องนา  การเลี้ยงผีปู่ผีย่า  การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ  การสืบชะตา การทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย เป็นต้น

     ข.โบราณสถาน 
           โบราณสถาน วัดท่าฟ้า  ตั้งบริเวณพื้นที่บ้านท่าฟ้าใต้  ม.๒ ต.สระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ระยะทางจากอำเภอเชียงม่วน ประมาณ ๑๙ กิโลเมตร

     ค.สถานที่ท่องเที่ยว 
ในเขตพื้นที่อำเภอเชียงม่วนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าสนใจไม่ด้อยกว่าที่อื่นหลายแห่ง ดังนี้

  • พระธาตุภูปอ   ตั้งอยู่เขตพื้นที่บ้านปงสนุก ม.๔  ต.บ้านมาง  อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ระยะทางห่างจากอำเภอเชียงม่วน ประมาณ  ๕  กิโลเมตร
  • พระธาตุดอยแก้ว ตั้งอยู่เขตบ้านไชยสถาน หมู่ที่ ๔  ต.เชียงม่วน อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ระยะทางจากอำเภอเชียงม่วน  ประมาณ ๕ กิโลเมตร
  • โบราณสถาน วัดท่าฟ้า  ตั้งบริเวณพื้นที่บ้านท่าฟ้าใต้  ม.๒  ต.สระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ระยะทางจากอำเภอเชียงม่วน  ประมาณ ๑๙ กิโลเมตร
  • ฝั่งต้า  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่  หมู่ที่ ๔  บ้านไชยสถาน  ตำบลเชียงม่วน อยู่ห่างที่ว่าการอำเภอเชียงม่วนไปทางทิศตะวันออก  ระยะทางประมาณ  ๗  กิโลเมตร  เป็นสถานที่ที่เกิดจากการน้ำไหลเซาะพื้นที่ดินที่เป็นที่สูงชันทำให้เกิดรูปร่างต่าง ๆ สวยงาม คล้ายกับบริเวณ  แพะเมืองผีในจังหวัดแพร่ 
    เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของอำเภอเชียงม่วน
  • น้ำตกธารสวรรค์  ตั้งในพื้นที่  หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านมาง อยู่จากที่ว่าการอำเภอเชียงม่วนไปทางทิศตะวันตก  ระยะทางประมาณ  ๒๗  กิโลเมตร การคมนาคมสะดวกเนื่องจากเป็นถนนลาดยาง  จนถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่งของจังหวัดพะเยา จุดน้ำตกมีความสูงประมาณ  ๒๐   เมตร มีน้ำไหลตลอดปี สภาพโดยริบปกคลุมด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เนื่องจากอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูนาง จึงทำให้มีความร่มรื่น 
    เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง
  • น้ำตกห้วยต้นผึ้ง   ตั้งอยู่หมู่ที่   ๑๐  ตำบลสระ   สูงประมาณ     ๔๐   เมตร
  • น้ำตกบ้านนาบัว  ตั้งอยู่หมู่ที่   ๙   ตำบลสระ    สูงประมาณ     ๒๕   เมตร
  • ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ อยู่ในเขตบริเวณเขตพื้นที่บ้านหนองกลาง ม. ๗  ต.บ้านมาง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ห่างจากอำเภอเชียงม่วน  ประมาณ  ๖ กิโลเมตร

เรียบเรียงโดย : เชียงม่วนเมืองงาม